รู้ไหม ยุคนี้ พูดไม่คิด ชีวิตดับได้

T

เชื่อไหมว่า…คนปัจจุบันมักจะพูดก่อนคิด มากกว่าที่จะคิดก่อนพูด ทำให้กลายเป็นประเด็นที่จุดชนวนให้คนหัวร้อนกันได้ง่าย จนอาจลุกลามถึงขั้นฆ่ากันได้อย่างง่ายดาย จนไม่น่าเชื่อว่า ที่นี่คือเมืองพุทธ!

เรามาดูกันหน่อยว่าหัวข้อที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดโดยไม่คิดมีอะไรกันบ้าง ใครที่อ่านจะได้ระงับคำพูด และคิด พิจารณาให้ดีก่อนจะพูดออกไป เพื่อจะได้ไม่เป็นชนวนก่อให้เกิดปัญหาใหญ่โตขึ้นได้ 

bullied in school

ล้อเลียนปมด้อย 

คนเราเกิดมาไม่สามารถเลือกรูปร่างหน้าตาได้ ความแตกต่างของสีผิว ความสูง หรือแม้แต่รูปลักษณ์ และน้ำหนักตัว แม้จะเป็นเพื่อนหรือมีความสนิทแค่ไหน อาจพูดเพียงเพื่อความหยอกล้อสนุกในกลุ่มเพื่อน แต่มันก็สร้างสมความรู้สึกไม่ดีในจิตใจของเจ้าตัว จนอาจปะทุรุนแรงขึ้นมาได้ในสักวัน และในความจริงแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็ไม่มีสิทธิ์จะล้อเลียนหรือเหยียดปมของคนอื่น เพราะถ้าลองเป็นตัวคุณเองบ้าง จะรู้สึกอย่างไร ดังเช่นข่าวทำร้ายกันหรือไปซุ่มฆ่าเพราะถูกล้อปมด้อยมาตลอดจนเกิดสะสมเป็นความแค้น และไปฆ่าเพื่อชำระแค้นในที่สุด 

ทักเรื่องรูปร่าง 

การทักเรื่องรูปร่างเมื่อได้พบเจอกัน เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง และเป็นมารยาทสากล แต่คนไทยเรามักจะเคยชินกับการทักเรื่องรูปร่าง อาจด้วยความเป็นห่วง หรือปากพาไปตามสายตาที่เห็น แต่ลืมใช้สมองคิดถึงความรู้สึกผู้อื่น เช่น “ทำไมผอมจัง กินข้าวบ้างหรือเปล่า”  “ไปทำอะไรมาทำไมอ้วนขึ้น ออกกำลังกายบ้างนะ” เป็นต้น ซึ่งการทักทายแบบนี้ก็ไม่ผิด และสำหรับคนที่สนิทกันพอสมควรอาจคิดว่าทักเพราะความเป็นห่วง แต่ต้องคิดด้วยว่า เขาอาจพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่แล้ว หรืออาจกำลังกลุ้มใจอยู่แล้ว และเมื่อเราไปทักก็อาจยิ่งไปทับถมซ้ำเติมปัญหาที่เขากำลังเป็นทุกข์อยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นเปลี่ยนจากการทักเรื่องรูปร่างเมื่อเจอกัน เป็นทักในทางสร้างสรรค์จะดีกว่า เช่น “เฮ้ ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม” โดยไม่ต้องมีเรื่องรูปกาย หน้าตาเข้ามาเกี่ยวข้อง การสนทนาจะได้ไม่สร้างให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดหรือต้องผิดใจกัน 

เหยียบย่ำเมื่อทำผิด 

เมื่อเจอใครที่ทำผิดพลาดไปแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะกล่าวซ้ำเติม ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา โดยเฉพาะคนใกล้ชิด ที่มักจะซ้ำเติมโดยไม่รู้ตัว เช่น “เห็นไหม บอกแล้วว่า….”  “บอกแล้วว่าทำไปก็ไม่ได้ผล จะทำให้มันเกิดความเสียหายทำไม” ฯลฯ จริงอยู่ว่าเขาทำผิดหรือทำพลาด แม้ว่าเราอาจเคยกล่าวตักเตือนไปแล้ว แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วและพลาดไปแล้ว ก็ไม่ควรที่จะซ้ำเติม หรือเหยียบย่ำหัวใจคนนั้น โดยเฉพาะคนใกล้ชิด เพราะคำซ้ำเติมของคนอื่นจะไม่สร้างบาดแผลได้เจ็บปวดเท่ากับจากคนใกล้ชิด ดังนั้นแทนที่จะกล่าวอะไรกดย้ำความรู้สึกของผู้ฟัง ควรกล่าวคำให้กำลังใจกันจะดีกว่า “ไม่เป็นไร มันผ่านไปแล้ว มันจะเป็นอีกบทเรียนให้รู้ว่า ทำแบบนี้แล้วจะเป็นแบบนี้ จะได้ไม่หลงมาทำอีก” ฯลฯ  

ไม่รักษาน้ำใจ

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า สนิทกันพูดอะไรก็ได้ หรือยิ่งสนิทกันไม่ต้องมีความเกรงใจต่อกันมากนักก็ได้ ซึ่งที่จริงแล้ว ยิ่งสนิทกันยิ่งต้องเกรงใจและรักษาความรู้สึกต่อกัน เพื่อที่จะได้รักษาความสัมพันธ์กันไปได้ยืนยาว และยังเป็นการให้เกียรติต่อกัน เป็นสิ่งที่คนสนิทกันควรทำให้กันเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่กลับทำตรงกันข้าม มักจะพูดทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายโดยอาจไม่ได้เจตนาร้าย เพียงแค่การหยอกเล่น แต่อีกฝ่ายไม่ได้รู้สึกสนุกด้วย อาจทะเลาะกันหรือเก็บไว้สะสมจนระเบิดและแตกหักกันในที่สุด ทำให้เรามักได้ยินเพื่อนฆ่ากันเอง ลูกฆ่าพ่อแม่ พี่น้องฆ่ากัน ฯลฯ สาเหตุมาจากปมคำพูด คำเสียดสี คำก่นด่า คำพูดทำร้ายจิตใจ หรือการกระทำที่ไม่รักษาน้ำใจอีกฝ่าย  

arguing in the office

ส่งพลังด้านลบ 

เป็นบุคคลที่พบเจอได้ทั่วไป ที่มักจะพูดถึงจุดด้อย หรือพูดให้อีกฝ่ายรู้สึกแต่ด้านลบ เช่น “เพราะเธอเป็นคนแบบนี้ คนถึงไม่กล้าเข้าใกล้”  “คุณกินข้าวบ้างหรือเปล่า ผอมเหมือนไม่มีไส้”  “ชุดนี้เหมาะกับคนผอม ๆ เธอใส่ไม่ได้หรอก” ฯลฯ แม้ว่าบางเรื่องจะเป็นความจริง แต่ความจริงที่เป็นพลังด้านลบไม่พูดออกมาจะดีกว่า เมื่อพูดต่อหน้า คนฟังอาจเหมือนไม่โกรธ แต่ภายใจจิตใจอาจรู้สึกไม่ดีหรือไม่พอใจก็ได้ 

เดี๋ยวนี้คนหัวร้อนได้ง่าย พูดจากันดี ๆ คิดก่อนพูด และพูดรักษาน้ำใจกัน ก็ช่วยลดต้นเหตุแห่งความร้อนได้ อย่าให้อารมณ์ร้อนแข่งกับสภาพอากาศของเมืองไทย เพราะการพูดไม่คิดเพียงไม่กี่คำ