ใครที่เคยมีอาการเหมือนจะเป็นไข้แต่ไม่เป็น หรือปวดหัวตลอดเวลากินยาไม่หาย บางคนอาจปวดหัวเล็กน้อย แต่บางคนอาจปวดหัวมาก ซึ่งอาจปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน แล้วทำไมกินยาแก้ปวดแล้วไม่หายปวด ก็ยิ่งทำให้หงุดหงิดและเป็นกังวลว่าตนเสี่ยงเป็นโรคร้ายไหม จะเกี่ยวกับเนื้องอกในสมองไหม หรือเส้นเลือดในสมองโป่งพองหรือเปล่า วันนี้เราจะมาชวนคุณสังเกตอาการปวดหัวตรงไหน บอกอะไรได้บ้าง และปวดหัวแบบไหนควรไปรีบไปพบแพทย์
โดยทั่วไปอาการปวดหัวแบบต่าง ๆจะแบ่งเป็นโรค 2 กลุ่ม
1. กลุ่มปวดศีรษะไม่มีรอยโรคในสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Primary Headache)
เป็นกลุ่มโรคที่ไมร้ายแรง มักเป็น ๆ หาย ๆ ได้แก่ ไมเกรน ปวดศีรษจากกล้ามเนื้อตึง ปวดศีรษะคลัสเตอร์ เป็นต้น
1.1 ปวดหัวไมเกรน (Migraine)
โรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด ตั้งแต่ในอายุน้อยไปจนถึงวัยทำงาน และวัยกลางคน โดยมักจะรู้สึกปวดที่ขมับใดขมับหนึ่ง อาจปวดร้าวไปที่กระบอกตาหรือท้ายทอย ปวดในลักษณะตุบ ๆ ตามจังหวะชีพจร และจะรู้สึกปวดมากขึ้นหลังทำกิจกวัตรประจำวัน มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย อาเจียน และอาการแย่ลง เมื่อเจอแสงจ้าหรือมีเสียงดัง โดยระยะเวลาปวดไมเกรนแต่ละครั้งอาจ 3 ชั่วโมง หรือมากกว่า 3 วัน
สาเหตุปวดไมเกรน : หลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดเยื่อหุ้มสมองขยายตัว อันเนื่องมาจากมีสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ได้แก่
1.2 ปวดหัวจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึง (Tension-type Headache)
เป็นอีกโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการมึนศีรษะเหมือนมีอะไรมารัดรอบศีรษะ ปวดบริเวณหน้าผาก ขมับ 2 ข้าง บางครั้งอาจร้าวมาด้านหลังศีรษะ ต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก
สาเหตุ : ความเครียด หรือ พักผ่อนไม่เพียงพ
1.3 ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
การปวดศีรษะประเภทคลัสเตอร์มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 20-50 โดยจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวบริเวณโดยรอบ หรือ ปวดบริเวณหลังเบ้าตาร้าวไปขมับ มีอาการปวดหัวจี๊ด ๆ เหมือนมีอะไรแหลม ๆ แทงเข้าตา ปวดมาก กระวนกระวาย อาจเป็นช่วงระยะหลายนาที หรือเป็นชั่วโมง หรืออาจรู้สึกปวดเป็นวัน ๆ เลยทีเดียว ปวดได้บ่อยและมักจะปวดในเวลาเดิม ๆ หรือในเวลาไล่เลี่ยกัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็น ๆ หาย ๆ มีอาการร่วมทางระบบประสาท เช่น ลืมตาลำบาก ตาแดง ตาบวม ม่านตาข้างที่ปวดหดเล็กลง และอาจมีน้ำตา น้ำมูกไหล
สาเหตุปวดศีรษะคลัสเตอร์ : ระบบการทำงานของส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมอง ชื่อ Hypothalamus มีความผิดปกติ ส่งผลข้างเคียงต่อเส้นประสาทสมองที่ 5 ที่มีหน้าที่รับความรู้สึกของใบหน้าพร้อมระบบประสาทอัตโนมัติและหลอดเลือดให้รวนตามไปด้วย
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
โรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยมากในกลุ่มคนวัยทำงาน คนที่มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในอากัปกิริยาเดิมซ้ำๆ ติดต่อกันจนกลายเป็นการสะสม อาจเริ่มตั้งแต่น้อย ๆ ปวดตึง จนไปถึงอาการปวดหัวท้ายทอย คอ บ่า ไหล่ ไปจนถึงอาการปวดหัวแบบหนักหัว ปวดหลัง และอาจมีอาการมือชา ขาชาได้
สาเหตุออฟฟิศซินโดรม : จากการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันที่อยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ หรือการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งตัวเอียง นั่งพับขา นั่งหลังงอ การทำงานหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ต้องใช้อวัยวะในท่าเดิม ๆ เช่น การพิมพ์งานหน้าจอคอมฯ เป็นเวลานาน ๆ การก้มมองหน้าจอมือถือ หรือแม้แต่การจ้องมองหน้าจอหรือใช้อุปกรณ์ไอทีเป็นเวลาติดต่อกัน รวมไปถึงการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการปวดศีรษะในกลุ่มเหล่านี้ที่มักจะปวดเป็นเวลานาน ๆ ทำให้หลายคนกังวลว่าเสี่ยงจะเป็นเนื้องอกในสมอง เพราะเมื่อปวดหัวแต่กินยาก็ไม่หาย ไปพบแพทย์ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ
วิธีแก้ปวดหัวในกลุ่มไม่มีรอยโรคสมอง
ให้พักสายตาประมาณ 5-10 นาที ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ในระหว่างการทำงาน อาจหลับตานิ่ง ๆ สักพัก หรือหันไปมองนอกหน้าต่าง ดูสีเขียวของต้นไม้ หรือลุกจากเก้าอี้ไปยืดเส้นยืดสาย เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อคลายจากความตึงเครียดของร่างกาย ทั้งที่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกละเลยเพราะทำงานติดพันบ้าง หรือความเข้มงวดของระบบการทำงาน ทำให้ไม่สะดวกใจจนพนักงานส่วนใหญ่เกิดอาการเหล่านี้ขึ้นมา
2. กลุ่มปวดศีรษะมีรอยโรคสมอง ศีรษะ หรือ คอ (Secondary Headache)
กลุ่มปวดศีรษะที่มีรอยโรคสมอง เช่น มีเลือดออกในสมอง มีเนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดเลือดสมองโป่งพอง ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง กระดูกคอเสื่อม โพรงไซนัสอักเสบ หรือ มีอาการต้อหิน เป็นต้น
อาการปวดศีรษะอาจมีความคล้ายเคียงกันจนไม่สามารถแยกออกได้ว่าปวดศีรษะด้วยโรคอะไร หรือจากสาเหตุใดกันแน่ เช่น อาการปวดเบ้าตาที่อาจเกิดจากปวดศีรษะคลัสเตอร์ หรือจากการเป็นต้อหิน หรือ ไมเกรนก็ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหัวมีไข้ หรือปวดหัวไม่มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และคอแข็ง อาจมีความเป็นไปได้ว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน ซึ่งจะต้องมีการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังไปวิเคราะห์
ปวดหัวจากความผิดปกติของสมอง : ปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คอแข็ง การมองเห็นผิดปกติ มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก
ปวดหัวจากโรคไซนัสอักเสบ : ปวดบริเวณโหนกแก้มสองข้าง หรือบริเวณดั้งจมูก
ลักษณะการดำเนินโรคปวดศีรษะแบบง่าย ๆ แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่
ปวดหัวไม่หายทำไงดี กินยาก็ไม่หาย พาราเซตามอลก็เอาไม่อยู่ อาการปวดหัวเรื้อรัง วิธีรักษาที่ดี คือ ต้องไปพบแพทย์เพื่อให้มีการวิเคราะห์และทำการรักษาเหมาะสมกับรอยโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพียงแค่ปวดศีรษะรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที