ประวัติวันดินโลก / วันดินโลกตรงกับวันที่เท่าไร / ทำไมถึงเรียกว่าวันดินโลก / ความสำคัญของดิน / การอนุรักษ์และการดูแลดิน
เดือนธันวาคมเวียนมาถึงอีกแล้ว และเดือนนี้ก็มีวันสำคัญระดับโลก ซึ่งเป็นเคยเป็นวันสำคัญของประเทศไทย และเป็นวันพ่อแห่งชาติของประชาชนคนไทยมาก่อน ใช่แล้วค่ะ บทความนี้เราจะมาพูดถึง วันที่ 5 ธันวาคม แต่เปลี่ยนสถานะจาก “วันพ่อของคนไทย” เป็น “วันดินโลก”
ประวัติวันดินโลก และผู้เกี่ยวข้องกับวันดินโลกคือใคร
วันดินโลก ภาษาอังกฤษ เรียกว่า World Soil Day (WDS) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้หันมาตระหนักถึงความสำคัญของดิน ให้มีการดูแลและจัดการดินอย่างยั่งยืน โดยวันดินโลกครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 โดยมีประเทศไทยเป็นผู้นำภายใต้กรอบของ Global Soil Partnership ในงานประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยภายในงานครั้งนั้นได้มีนักปฐพีวิทยาทั่วโลกเข้าร่วมประชุม ทางสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) และ Global Soil Partnership ได้มีการเสนอให้วันที่ 5 ธันวาคม คือ วันดินโลก เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และเคยเป็น “วันพ่อแห่งแผ่นดิน” มาตลอดระยะเวลาครองราชย์ของพระองค์ เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณและอัจฉริยภาพของพระองค์ ในการบริหารจัดการดิน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง จนเป็นผลสำเร็จปรากฏไปทั่วโลก และเป็นต้นแบบให้กับหลาย ๆ ประเทศต้องการศึกษาและนำไปปรับใช้
วันดินโลกตรงกับวันที่เท่าไร
ต่อมาได้มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 68 เดือน ธันวาคม 2556 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organixation : FAO) และ องค์การสหประชาติ (United Nations : UN) ได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งวันดินโลก โดยมีมติและกำหนดให้วันดินโลกตรงกับวันที่ 5 ธันวามคม ของทุกปี และกำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็น ปีดินสากล (International Year of Soils) เพื่อส่งเสริมให้มีการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรดินต่อการพัฒนาด้านการเกษตร โภชนการ และความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก
ทำไมถึงเรียกว่าวันดินโลก
วันดินโลก หรือ World Soil Day ถือกำเนิดขึ้นจากมติความเห็นชอบของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (FAO) และ องค์การสหประชาติ (UN) และยังมีความเกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย โดยจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนใส่ใจและให้ความสำคัญของดิน ดูแลและพัฒนาคุณภาพดินอย่างยั่งยืน
ความสำคัญของดิน
รากฐานของสิ่งมีชีวิตในโลก คือ ดิน เพราะดินคือวัตถุค้ำจุนสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ซึ่งเราล้วนแต่พึ่งพาดินเป็นหลัก การอยู่อาศัย และการใช้ดินเป็นแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ทั่วโลก เพราะดินมีองค์ประกอบไปด้วยแร่ธาตุมากมาย เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจ โปรแทสเซียม รวมไปถึง น้ำ อากาศ และวัตถุอินทรีย์ที่มีชีวิต อย่าง จุลินทรีย์ขนาดเล็ก กลายเป็นธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชการเกษตร ช่วยให้เรามีอาหารธรรมชาติหล่อเลี้ยงทุกชีวิตในโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพดิน ที่รวมตลอดถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ภายในดินทั้งหมด อันได้แก่ ไส้เดือน หนอน แมลงดิน จุลินทรีย์ แบคทีเรีย และ เชื้อรา ต่างก็มีบทบาทในโครงสร้างดิน เช่น การย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินของจุลินทรีย์ ช่วยให้ดินมีคุณภาพสูง เร่งการเจริญเติบโตของพืช และยังป้องกันเชื้อโรคอันตรายแก่พืชเกษตร ทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนทั้งโลกได้
การอนุรักษ์และการดูแลดิน
การอนุรักษ์ดิน คือ การใช้ประโยชน์จากดินอย่างชาญฉลาด และดูแลรักษาสภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อรักษาระบบนิเวศ โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
โดยการดูแลรักษาสภาพดินให้คงมีความอุดมสมบูรณ์นั้นทำได้ง่าย ๆ โดยการคลุมดิน ซึ่งอาจใช้วัสดุฟาง หรือหญ้าแห้งมาคลุมดินไว้ หรือ การปลูกพืชคลุมดิน (cover cropping) โดยปลูกพืชที่มีใบหนา รากแน่น เพื่อยึดดินและปกคลุม ลดแรงปะทะจากเม็ดฝน ดินสามารถอุ้มน้ำและระบายน้ำได้ดี อีกทั้งยังเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารให้กับดิน เช่น พวกพืชตระกูลถั่ว หรือ พวกตระกูลหญ้า เป็นต้น